การเกิดถ้ำและหินงอก-หินย้อย
การเกิดถ้ำและหินงอก-หินย้อย
.jpg)
เมื่อฝนตกและหิมะละลาย น้ำทั้งหมดไม่ได้ระเหยขึ้นไปในอากาศหรือกลายเป็นน้ำหลาก แต่บางส่วนจะซึมลงไปในดิน และเข้าไปอยู่ในบริเวณที่ว่างระหว่างดิน ในรอยแตก และในช่องว่างระหว่างชั้นหิน น้ำใต้ดิน(groundwater) คือ ศัพท์ที่นักธรณีวิทยาใช้เมื่อหมายถึงน้ำที่อยู่ใต้ดิน เช่นเดียวกับน้ำที่ไหลบนพื้นดิน น้ำใต้ดินก็มีผลต่อรูปร่างของพื้นดินด้วยเช่นกัน
น้ำใต้ดินสามารถก่อให้เกิดการสึกกร่อนได้โดยกระบวนรวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซต์ เกิดเป็นกรดอ่อนที่เรียกว่ากรดคาร์บอนิก กรดคาร์บอนิกสามารถทำให้หินปูนแตกออกเป็นชิ้นๆ ได้ หินปูนเหล่านี้บางส่วนอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและถูกนำออกไปในรูปของสารละลาย ซึ่งทำให้หินกลายเป็นรูเล็กๆ เมื่อเวลาผ่านไปรูเล็กๆ เหล่านี้กลายเป็นช่องใหญ่ขึ้นอยู่ใต้ดินที่เรียกว่า ถ้ำหรือว่าอุโมงค์
ผลของกรดคาร์บอนิกกับหินปูนยังสามารถทำให้เกิดการทับถมได้อีกด้วยภายในถ้ำหินปูน การทับถมก่อให้เกิดหินงอกและหินย้อย น้ำที่มีกรดคาร์บอนิกและแคลเซียมจากหินปูนจะหยดลงมาจากหลังคาถ้ำ เมื่อน้ำระเหยก็จะเกิดการทับถมของแคลไซต์ การทับถมของหินปูนที่ห้อยย้อยลงมาเหมือนหยาดน้ำแข็งจากหลังคาถ้ำ เรียกว่า หินย้อย (Stalactile) ส่วนที่ค่อยๆ งอกขึ้นจากพื้นถ้ำเป็นรูปกรวยเรียกว่า หินงอก (Stalagmite)